ประวัติลูกเสือไทย

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อพระชนมายุได้ 13 พรรษา ได้เสด็จไปทรงศึกษา ณ ประเทศอังกฤษ ทวีปยุโรป ระหว่างที่ทรงศึกษาอยู่นั้น ได้ทรงทราบเรื่องการสู้รบเพื่อรักษาเมืองมาฟิคิง (Mafeking) ของ ลอร์ดเบเดน โพเอลล์ (Lord Baden Powell) ซึ่งได้ตั้งกองทหารเด็กเป็นหน่วยสอดแนมช่วยรบในการรบกับพวกบัวร์ (Boar) จนประสบผลสำเร็จ และได้ตั้งกองลูกเสือขึ้นเป็นครั้งแรกของโลก ที่ประเทศอังกฤษ เมื่อ พ.ศ. 2450 เมื่อพระองค์เสด็จนิวัติสู่ประเทศไทย ก็ได้ทรงจัดตั้งกองเสือป่า (Wild Tiger Corps) ขึ้น เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2454 มีจุดมุ่งหมายเพื่อฝึกหัดให้

ข้าราชการและพลเรือนได้เรียนรู้วิชาทหาร เพื่อเป็นคุณประโยชน์ต่อบ้านเมือง รู้จักระเบียบวินัย มีความจงรักภักดีต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ต่อจากนั้นอีก 2 เดือน ก็ได้พระราชทานกำเนิดลูกเสือไทยขึ้นเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2454 ด้วยทรงมีพระราชปรารภว่า เมื่อฝึกผู้ใหญ่เป็นเสือป่า เพื่อเตรียมพร้อมในการช่วยเหลือชาติบ้านเมืองแล้ว เห็นควรที่จะมีการฝึกเด็กชายปฐมวัยให้มีความรู้ทางเสือป่าด้วย เมื่อเติบโตขึ้นจะได้รู้จักหน้าที่และประพฤติตนให้เป็นประโยชน์ต่อชาติบ้าน เมือง จากนั้น ทรงตั้งกองลูกเสือกองแรกขึ้นที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวง (โรงเรียนวชิราวุธ ในปัจจุบัน) และจัดตั้งกองลูกเสือตามโรงเรียน ต่าง ๆ ให้กำหนดข้อบังคับลักษณะปกครองลูกเสือขึ้น รวมทั้งพระราชทาน คำขวัญให้ลูกเสือว่า “เสียชีพ อย่าเสียสัตย์ ” ผู้ที่ได้รับยกย่องว่าเป็นลูกเสือไทยคนแรก คือ นายชัพท์ บุนนาค ซึ่งต่อมา ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น “นายลิขิตสารสนอง”

ปี พ.ศ. 2463 ได้จัดส่งผู้แทนคณะลูกเสือไทย จำนวน 4 คน ไปร่วมงานชุมนุมลูกเสือโลก ครั้งที่ 1 (1st World Scout Jamboree) ซึ่งจัดเป็นครั้งแรกของโลก ณ อาคารโอลิมเปีย กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ
ปี พ.ศ. 2465 คณะลูกเสือไทย ได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกของสมัชชาลูกเสือโลก ซึ่งขณะนั้นมีสมาชิกรวมทั้งสิ้น 31 ประเทศ ประเทศทั้ง 31 ประเทศนี้ นับเป็นสมาชิกรุ่นแรก หรือสมาชิกผู้ก่อการจัดตั้ง (Foundation Members) สมัชชาลูกเสือโลกขึ้นมา
ปี พ.ศ. 2467 ได้จัดส่งผู้แทนคณะลูกเสือไทย 10 คน ไปร่วมงานชุมนุมลูกเสือโลก ครั้งที่ 2 ณ ประเทศเดนมาร์ก
ปี พ.ศ. 2468 พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2468
ปี พ.ศ. 2454 (ค.ศ. 1911) พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงก่อตั้งกิจการลูกเสือไทย เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2454
ปี พ.ศ. 2463 (ค.ศ. 1920) – ส่งผู้แทนคณะลูกเสือไทยไปร่วมงานชุมนุมลูกเสือโลก ครั้งที่ 1 ณ ประเทศอังกฤษ

ปี พ.ศ. 2465 (ค.ศ. 1922) คณะลูกเสือแห่งชาติ เข้าเป็นสมาชิกสมัชชาลูกเสือโลก

ปี พ.ศ. 2467 (ค.ศ. 1924) ส่งผู้แทนคณะลูกเสือไทยไปร่วมงานชุมนุมลูกเสือโลก ครั้งที่ 2 ณ ประเทศเดนมาร์ก

ปี พ.ศ. 2470 (ค.ศ. 1927) จัดงานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติ ครั้งที่ 1 (1st National Jamboree)

ปี พ.ศ. 2499 (ค.ศ. 1956) เป็นสมาชิกของสำนักงานลูกเสือภาคตะวันออกไกล ซึ่งเพิ่งจัดตั้งขึ้น ขณะนั้นมีประเทศสมาชิกอยู่ 10 ประเทศ
ปี พ.ศ. 2504 (ค.ศ. 1961) เฉลิมฉลองครบรอบ 50 ปีการลูกเสือไทย

ปี พ.ศ. 2505 (ค.ศ. 1962) เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมผู้บังคับบัญชาลูกเสือภาคตะวันออกไกล ครั้งที่ 3 (3rd Far East Scout Conference) ณ ศาลาสันติธรรม

ความเป็นมาลูกเสือไทย อาจแบ่งเป็น 5 ยุค ดังนี้

1. ยุคก่อตั้ง (พ.ศ. 2454 – 2468) รวม 14 ปีอยู่ในรัชกาลที่ 6

– 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2454 ทรงจัดตั้งกองเสือป่า(Wild Tiger Corps)พื่อให้ข้าราชการและพลเรือนได้มีโอกาสฝึกหัดวิชาทหารเพื่อเป็นคุณ ประโยชน์ต่อตนเองและบ้านเมืองในอันที่จะทำให้รู้จักระเบียบวินัย มีกำลังใจ กำลังกายเข้มแข็ง มีความจงรักภักดีีต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์

– 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2454 ทรงสถาปนาลูกเสือไทย โดยตราข้อบังคับลักษณะปกครองลูกเสือ และจัดตั้งกองลูกเสือขึ้นตามโรงเรียน และสถานที่อันสมควร และพระราชทานคำขวัญให้กับลูกเสือไว้ว่า “เสียชีพอย่าเสียสัตย์”จากนั้นได้ตั้งสภากรรมการกลางจัดการลูกเสือแห่งชาติ ขึ้น โดยพระองค์ทรงดำรงตำแหน่งสภานายกและหลังจากนั้นพระมหากษัตริย์องค์ต่อมาทรง เป็นสภานายกสภาลูกเสือแห่งชาติตลอดมาจนถึงปี พ.ศ. 2490 ในยุคนี้มีเหตุการณ์สำคัญ ๆ เช่น พ.ศ. 2454 – ตั้งลูกเสือกองแรกที่ โรงเรียนมหาดเล็ก ( คือ โรงเรียนวชิราวุธปัจจุบัน ) เป็นกองลูกเสือ ในพระองค์ เรียกว่า กองลูกเสือกรุงเทพฯ ที่ 1

– พ.ศ. 2458 – พระราชทานเหรียญราชนิยมให้แก่ลูกเสือโท ฝ้าย บุญเลี้ยง (ต่อมาเป็นขุนวรศาสน์ดรุณกิจ)

– พ.ศ. 2459 – ตั้งโรงเรียงผู้กำกับลูกเสือในพระบรมราชูปถัมภ์ขึ้น ณ สโมสรเสือป่าจังหวัดพระนคร หลักสูตร 2 เดือน เปิดได้ 4 ปีก็ล้มเลิก

– พ.ศ. 2463 – ส่งผู้แทนลูกเสือไทย 4 คน ไปร่วมงานชุมนุมลูกเสือโลกครั้งที่ 1 (World Scout Jamboree) ณ โคลัมเบีย กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ โดยมี นายสวัสดิ์ สุมิตร เป็นหัวหน้าคณะ

– พ.ศ. 2465 – คณะลูกเสือไทยสมัครเข้าเป็นสมาชิกของสมัชชาลูกเสือโลก เป็นกลุ่มแรกมีประเทศต่างๆ รวม 31 ประเทศ และถือเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้ง (Foundation Members) ขององค์การ ลูกเสือโลก

– พ.ศ. 2467 – ส่งผู้แทนคณะลูกเสือไทย 10 คน ไปร่วมงานชุมนุมลูกเสือโลกครั้งที่ 2 ณ ประเทศ เดนมาร์กโดยพระยาภรตราชา เป็นหัวหน้าคณะ

– พ.ศ. 2468 – การลูกเสือไทยสูญเสียพระผู้พระราชทานกำเนิดลูกเสือไทยรัชกาลที่ 6

  1. ยุคส่งเสริม (พ.ศ. 2468 – 2482) สมัยรัชกาลที่ 7 จนถึงสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุคนี้แบ่งออกเป็น 2 ตอน คือ

2.1 ก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง รัชการที่ 7 ยังทรงเป็นสภานายกสภากรรมการกลางจัดการลูกเสือแห่งชาติอยู่

– พ.ศ. 2470 – มีการชุมนุมลูกเสือแห่งชาติ ครั้งที่ 1 (1st National Scout Jamboree) ณ พระราชอุทยาน สราญรมย์ กรุงเทพฯ และกำหนดให้มีงานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติครั้งต่อไปในทุก ๆ 3 ปี

– พ.ศ. 2472 – ส่งผู้แทนไปร่วมชุมนุมลูกเสือโลกครั้งที่ 3 ณ ประเทศอังกฤษ

– พ.ศ. 2473 – มีการชุมนุมลูกเสือแห่งชาติครั้งที่ 2 ณ พระรามราชนิเวศน์ จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งมีคณะลูกเสือต่างประเทศจากญี่ปุ่นมาร่วมงานด้วย โดยจัดหลักสูตร 2 เดือน ดำเนินการได้ 2 ปี ก็ล้มเลิก เพราะเปลี่ยนการปกครอง

2.2 ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง รัชกาลที่ 7 ก่อนสละราชสมบัติและรัชกาลที่ 8 จนถึงสงครามโลกครั้งที่ 2 (พ.ศ. 2475 – 2482)

– พ.ศ. 2475 – หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง ได้จัดตั้ง “ลูกเสือสมุทรเสนา” ขึ้นอีกหนึ่งเหล่า โดยจัดตั้งกองลูกเสือเหล่าสมุทรเสนาในจังหวัดแถบชายทะเลเพื่อให้เด็กในท้อง ถิ่นมีความรู้ ความสามารถในวิทยาการทางทะเล

– พ.ศ. 2476 – ตั้งกรมพลศึกษาขึ้นในกระทรวงศึกษาธิการ โดยมีกองลูกเสืออยู่ในกรมพลศึกษา และส่งผู้แทนไปร่วมชุมนุมลูกเสือโลกครั้งที่ 4 ประเทศฮังการี โดยมีนายอภัย จุนทวิมล เป็น หัวหน้า

– ได้จัดทำตราคณะลูกเสือแห่งชาติขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับหลักสากล ที่คณะลูกเสือต่างๆ ทั่วโลก ต่างก็มีตราคณะลูกเสือของตนเองทั้งสิ้น โดยจัดทำตราเป็นรูป (Fleur de lis) กับ รูปหน้าเสือประกอบกัน และมีตัวอักษรคำขวัญอยู่ภายใต้ว่า “เสียชีพอย่าเสียสัตย์” และ ประกาศ ใช้ตราประจำคณะลูกเสือแห่งชาติ และกฎลูกเสือ 10 ข้อ

– เปิดการฝึกอบรมวิชาผู้กำกับลูกเสือ ซึ่งเรียกในทางราชการว่า การฝึกอบรมวิชาพลศึกษา (ว่าด้วยลูกเสือ) ประจำปี 2478 เป็นเวลา 1 เดือน

– ประกาศตั้งลูกเสือสมุทรเสนา พ.ศ. 2479 ประกาศใช้หลักสูตรลูกเสือเสนาและสมุทรเสนา

– พระราชบัญญัติธง พ.ศ. 2479 กำหนดลักษณะธงประจำกองคณะลูกเสือแห่งชาติ และธง ประจำกองลูกเสือ

– พ.ศ. 2482 – พระราชบัญญัติลูกเสือขึ้นสิ่งสำคัญคือให้คณะลูกเสือแห่งชาติมีสภาพเป็นนิติบุคคล
ได้ จัดตั้งสภากรรมการกลางจัดการลูกเสือแห่งชาติ จังหวัดลูกเสือ อำเภอลูกเสือ และ แบ่งลูกเสือออกเป็น 2 เหล่า คือ ลูกเสือเสนา และลูกเสือสมุทรเสนา

– มีพระราชบัญญัติให้ทรัพย์สินกองเสือป่าเป็นของคณะลูกเสือแห่งชาติ

– รัฐบาลได้จัดตั้ง “ยุวชนทหาร” ขี้นมาซ้อนกับกิจการลูกเสือ การฝึกยุวชนทหารแตกต่างจากการฝึกลูกเสือ โดยเป็นการฝึกเยาวชนของชาติในทางทหารอย่างแท้จริง

  1. ยุคประคับประคอง (พ.ศ. 2483 – 2489) ระยะนี้ลูกเสือซบเซาลงมาก เนื่องจากอยู่ภาวะสงคราม

    – พ.ศ. 2485 – มีการออกพระราชบัญญัติลูกเสือ (ฉบับปี พ.ศ. 2485) มีสาระสำคัญคือ กำหนดให้พระมหากษัตริย์ ทรงดำรงตำแหน่งบรมราชูปถัมภ์คณะลูกเสือแห่งชาติ

    – พ.ศ. 2488 – สงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุด การลูกเสือเริ่มฟื้นฟูทั่วโลก

    – รัชกาลที่ 8 เสด็จนิวัติสู่พระนคร และถูกลอบปลงพระชนม์

4. ยุคก้าวหน้า (พ.ศ. 2489 – 2514) เริ่มต้น รัชกาลที่ 9 แบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ

4.1 ระยะเริ่มก้าวหน้า (พ.ศ. 2489 – 2503)

– พ.ศ. 2496 – เริ่มดำเนินการสร้างค่ายลูกเสือวชิราวุธ ตำบลบางพระ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี

– พ.ศ. 2497 – มีการชุมนุมลูกเสือแห่งชาติครั้งที่ 3 ณ สนามกีฬาแห่งชาติ

– พ.ศ. 2500 – ส่งผู้แทนจากประเทศไทยไปร่วมชุมนุมลูกเสือโลกครั้งที่ 9 ณ ประเทศอังกฤษ เพื่อเฉลิมฉลองอายุครบ 100 ปี ของลอร์ด เบเดน โพเอลล์

    – พ.ศ. 2501 – เปิดการฝึกอบรมวิชาผู้กำกับลูกเสือสำรอง ขั้นความรู้เบื้องต้นเป็รครั้งแรกในประเทศไทย

– จัดตั้งกองลูกเสือสำรองกองแรกขึ้นในประเทศไทย 5 สิงหาคม 2501 พ.ศ. 2503 – เปิดการฝึกอบรมวิชาผู้กำกับลูกเสือสำรอง ขั้นวูดแบดจ์ ครั้งที่ 1 ณ พระตำหนักอ่าวศิลา จังหวัดชลบุรี

– ส่งผู้แทนไปร่วมประชุมสมัชชาลูกเสือโลกครั้งที่ 2 ณ ประเทศพม่า
4.2 ระยะก้าวหน้า (2504 – 2514)

– พ.ศ. 2504 – มีการชุมนุมลูกเสือแห่งชาติ ครั้งที่ 4 ณ สวนลุมพินี พระนคร เพื่อเฉลิมฉลองที่คณะลูกเสือไทยมีอายุครบ 50 ปี

– เปิดการฝึกอบรมวิชาผู้กำกับลูกเสือสามัญ ขั้นวูดแบดจ์ รุ่นที่ 1 ณ ค่ายลูกเสือวชิราวุธ

– วางศิลาฤกษ์ศาลาวชิราวุธ

– พ.ศ. 2505 – พลเอกถนอม กิตติขจร รองนายกรัฐมนตรี เปิดค่ายลูกเสือวชิราวุธ

– 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2505 รัชกาลที่ 9 ทรงประกอบพิธีเปิดศาลาวชิราวุธ

– พ.ศ. 2506 – เปิดการฝึกอบรมผู้กำกับลูกเสือวิสามัญ ขั้นวูดแบดจ์ รุ่นที่ 1 ณ ค่ายลูกเสือวชิราวุธ

– จัดตั้งกองลูกเสือวิสามัญ วันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2506

– ได้มีการฝึกอบรมลูกเสือชาวบ้านขึ้นครั้งแรก ณ อำเภอด่านช้าง จังหวัดเลย โดยกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดน เป็นผู้ริเริ่มดำเนินการ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงรับกิจการลูกเสือชาวบ้านไว้ในพระบรมราชานุเคราะห์

– ส่งผู้แทนคณะลูกเสือไทยเข้าไปร่วมการประชุมลูกเสือโลกครั้งที่ 13 ณ ประเทศญี่ปุ่น

5. ยุคประชาชน (พ.ศ. 2514 – ปัจจุบัน) เนื่องจากปี 2514 เป็นปีที่มีการฝึกอบรมลูกเสือชาวบ้านเป็นครั้งแรก

– พ.ศ. 2516 – รับกิจการลูกเสือชาวบ้านเป็นส่วนหนึ่งของคณะลูกเสือแห่งชาติ

– กระทรวงศึกษาธิการมีคำสั่งให้นำวิชาลูกเสือเข้าอยู่หลักสูตรโรงเรียน

– มีการจัดตั้งกองลูกเสือวิสามัญขึ้นในโรงเรียน

– รัชกาลที่ 9 ทรงประกอบพิธีเปิดการชุมนุมลูกเสือแห่งชาติ ครั้งที่ 8 ณ ค่ายลูกเสือวชิราวุธ

– พ.ศ. 2518 – ส่งผู้แทนไปร่วมการประชุมลูกเสือโลก ครั้งที่ 14 ณ ประเทศเดนมาร์ก

– ส่งผู้แทนเข้าร่วมประชุมสมัชชาลูกเสือโลก ครั้งที่ 14 ณ ประเทศเดนมาร์ก

– นายแพทย์ บุญสม มาร์ติน ได้รับเลือกตั้งเป็นกรรมการลูกเสือโลกจากการประชุมสมัชชาลูกเสือโลก ครั้งที่ 28 ณ เมืองดาการ์ ประเทศเซเนกัล

– พ.ศ. 2536 – เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสมัชชาลูกเสือโลก ครั้งที่ 13 ณ กรุงเทพฯ ( 33rd World Scout
Conference)

– พ.ศ. 2544 – จัดงานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติ ครั้งที่ 16 / งานชุมนุมเตรียมงานชุมนุมลูกเสือโลก ครั้งที่ 20 (16th National Jamboree / Pre 20th Scout Jamboree, 2003) เพื่อเฉลิมฉลองครบรอบ 90 ปี คณะลูกเสือไทย

– 28 ธันวาคม 2544 – เป็นเจ้าภาพจัดงานชุมนุมลูกเสือโลก ครั้งที่ 20 (20th 7 ,dik8, 2547 World Scout Jamboree, 2003) ณ บริเวณหาดยาว ฐานทัพเรือสัตหีบ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ซึ่งมีเยาวชนลูกเสือชาย – หญิง กว่า 30,000 คน จาก 151 ประเทศทั่วโลกมาร่วมงาน

– 5-9 ธันวาคม 2546 – จัดงานชุมนุมลูกเสือมูฮิบบาห์ (12th Muhibbah Jamboree) ณ ค่ายลูกเสือไทยเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดตรัง มีลูกเสือไทย จำนวน 1,266 คน และลูกเสือต่างประเทศในแถบชายแดนภาคใต้ ได้แก่ มาเลเซีย 15 คน ศรีลังกา 4 คน และสหรัฐอเมริกา 6 คน เข้าร่วมงานทั้งสิ้น 1,736 คน

– 20-24 กรกฏาคม 2547 – จัดงานชุมนุมผู้บังคับบัญชาลูกเสือครั้งที่ 3 (INDABA) ณ ค่ายลูกเสือวชิราวุธ
อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี มีผู้บังคับบัญชาลูกเสือเข้าร่วมงานชุมนุมฯ จำนวน 3,500 คน