

การลูกเสือนานาชาติ International Scouting
การลูกเสือโลกถูกก่อตั้งโดย โดยพลโท ลอร์ด เบเดน เพาเวลล์ (Lord Baden Powell) ในประเทศอังกฤษเป็นแห่งแรกในโลก เมื่อ พ.ศ.2451 โดยในปี พ.ศ. 2450 พลโท ลอร์ด เบเดน เพาเวลล์ (Lord Baden Powell) ท่านได้ทดลองตั้ง Boy Scout ขึ้นเป็นกองแรกที่ เกาะบราวน์ซี ไอแลนด์ (Brown Sea Island ) โดยให้เด็กที่จากที่ต่างๆ มาอบรมและคอยดูแลด้วยตนเอง พบว่าได้ผลดีสมความมุ่งหมายทุกประการจึงทำให้เกิดความบันดาลใจ ในอันที่จะขยายกิจการให้กว้างขวางออกไป เมื่อถึงปี พ.ศ. 2455 รัฐบาลอังกฤษได้ประกาศรับรองฐานะของลูกเสืออังกฤษเป็นทางการพร้อมกับออกกฎหมายคุ้มครองให้ด้วย จากนั้นการลูกเสืออังกฤษก็เจริญแพร่หายออกไปเป็นลำดับต่อมาในการชุมนุม Scout ครั้งแรกของโลกในปี พ.ศ. 2463 ที่ประชุมผู้แทน Scout จากประเทศต่างๆ ก็ประกาศให้เขาเป็นประมุขของ Scout ตลอดกาล และทุกคนเรียกท่านอย่างย่อๆว่า B-P
ปัจจุบันการลูกเสือได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก จนปัจจุบันมีประเทศสมาชิกมากถึง 216 ประเทศ รวมสมาชิกกว่า 38 ล้านคน
(cr. https://en.wikipedia.org/wiki/List_of_World_Organization_of_the_Scout_Movement_members)
สำนักงานลูกเสือโลก (World Scout Bureau) กรุงเจนีวา แล้วยังมีสำนักงานลูกเสือภาคพื้นอยู่ในภูมิภาคทั่วโลก อีก 6 แห่ง ได้แก่
1. ภาคพื้นยุโรป (Europe) – มีประเทศสมาชิก 41 ประเทศ
สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ และกรุงบร้สเซลส์ ประเทศเบลเยี่ยม
2. ภาคพื้น ยูเรเชีย (Eurasia) – มีประเทศสมาชิก 9 ประเทศ
สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่สาธารณรัฐยูเครน และสำนักงานสาขา ที่กรุงมอสโคว์ ประเทศรัสเซีย
3. ภาคพื้นอินเตอร์อเมริกา (Interamerica) – มีประเทศสมาชิก 32 ประเทศ
สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงซานติเอโก ประเทศชิลี
4. ภาคพื้นอาหรับ (Arab) – มีประเทศสมาชิก 18 ประเทศ
สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงไคโร ประเทศอียิปต์
5. ภาคพื้นอาฟริกา (Africa) – มีประเทศสมาชิก 37 ประเทศ
สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงไนโรบี ประเทศเคนยา
– สำนักงานสาขา 1. ตั้งอยู่ที่กรุงดาการ์ ประเทศเซเนกัล
– สำนักงานสาขา 2. ตั้งอยู่ที่ กรุงเคปทาวน์ ประเทศอาฟริกาใต้
6. ภาคพื้น เอเชีย-แปซิฟิก (Asia-Pacific) – มีประเทศสมาชิก 24 ประเทศ
สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงมนิลา ประเทศฟิลิปปินส์
Vision วิสัยทัศน์
By 2023 Scouting will be the world’s leading educational youth movement, enabling 100 million young people to be active citizens creating positive change in their communities and in the world based on shared values.
ภายในปี พ.ศ.2566 การลูกเสือจะต้องเป็นกระบวนการการพัฒนาเยาวชนทางการศึกษาชั้นนำของโลก อีกทั้งยังสามารถทำให้เยาวชนกว่า 100 ล้านคนเติบโตเป็นประชากรที่มีความกระตือรือร้น(Active citizen) มีคุณภาพและสร้างผลกระทบเชิงบวกในเชิงของการแบ่งปันให้กับสังคมและโลก
Mission ภารกิจ
ภารกิจของการลูกเสือ คือ กระบวนการทางการศึกษาของเยาวชน โดยให้ความสำคัญกับวิธีการทางการลูกเสือ ยึดมั่นกฎและปฏิญาณ การช่วยเหลือกันเพื่อเติมเต็มซึ่งกันและกันเพื่อสร้างโลกให้ดีขึ้นกว่าเดิม
แนวคิดนี้ถูกคิดขึ้นในการประชุมสมัชชาลูกเสือโลก ครั้งที่ 35 ปี พ.ศ.2542 ณ ประเทศแอฟริกาใต้ เพื่อส่งเสริมให้การลูกเสือสร้างผลกระทบเชิงบวกทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับนานาชาติ โดยการลูกเสือโลก ให้นิยามภารกิจนี้สั้นๆ ว่า Creating the Better World หรือ การสร้างสรรค์โลกให้ดีขึ้นกว่าเดิม
โครงสร้างของกิจการลูกเสือโลก ประกอบด้วย
- การประชุมสมัชชาลูกเสือโลก (World Scout Conference)
- คณะกรรมการลูกเสือโลก (World Scout Committee) กอปรด้วยสมาชิก 14 คน (แต่งตั้ง 12 คน และ โดยตำแหน่ง 2 คน: เลขาธิการ+เหรัญญิก) ปัจจุบัน Craige Turpie เป็นประธานกรรมการลูกเสือโลก
- สำนักงานลูกเสือโลก (World Scout Bureau) สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ประเทศมาเลเซีย ปัจจุบัน Ahmad Alhendawi เป็นเลขาธิการลูกเสือโลก
ในระดับโลกให้ความสำคัญกับเยาวชนเป็นอย่างมากทั้งในด้านของการฟังความคิดเห็นและร่วมลงมือปฏิบัติการใดๆที่เกี่ยวกับกิจกรรมลูกเสือ จึงได้มีการคัดเลือก World Scout Youth Advisor ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนเยาวชนจากประเทศต่างๆ จำนวน 6 คน โดยมีหน้าที่ในการให้คำปรึกษา ร่วมคิด ร่วมลงมือทำเกี่ยวกับกิจกรรมใดๆของเยาวชนเพื่อให้ความมั่นใจว่า กิจกรรมนั้นๆจะโดนใจและตอบโจทย์การสร้างบุคลากรคุณภาพโดยการลูกเสืออย่างแท้จริง
ส่วนในระดับภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิค ก็มีการคัดเลือกกลุ่มตัวแทนเยาวชนแบบนี้เช่นกัน เรียกว่า Young Adult Member Group และในกาลนี้ เป็นความภูมิใจที่ ประธาน Young Adult Member Group คนแรก เป็นเยาวชนไทย ชื่อว่า นางสาวศรสวรรค์ โฮ อีกทั้งยังได้รับตำแหน่งเป็นหนึ่งในกรรมการภาคพื้นฯ โดยตำแหน่งอีกด้วย
UN ได้ริเริ่มกระบวนการหารือเพื่อกำหนดวาระการพัฒนาภายหลังปี พ.ศ. 2558 (post-2015 development agenda) ตามกระบวนทัศน์ “การพัฒนาที่ยั่งยืน” โดยประเด็นสำคัญของวาระการพัฒนาภายหลังปี พ.ศ. 2558 คือ การจัดทำเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals–SDGs) แนวคิดเรื่องการสร้างสรรค์โลกให้ดีขึ้นกว่าเดิม มีวัตถุประสงค์ที่ตอบโจทย์เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในด้านของสนับสนุนและส่งเสริมให้เยาวชนได้ทำงานจิตอาสาทั้งในระดับ Local , National, Regional และ Global ประกอบด้วย 3 โปรแกรมใหญ่ ดังนี้
- Scouts of the World Award (SW Award)
- Messenger of Peace (MOP)
- World Scout Environment Program (WSEP)